หลายคนกำลังคิดที่จะเขียนบทความวิจัยแต่ไม่รู้จะเริ่มยังไงดี
วันนี้ผมจะมานำเสนอวิธีการเขียนครับ ซึ่งถ้าคุณสามารถทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ รับรองว่ามีโอกาสได้รับการตอบรับเข้าร่วมงานประชุมหรือตีพิมพ์ลงวารสารอย่างแน่นอน ซึ่งประกอบไปด้วย 20 ขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดหัวข้อ (Determine the topic)
การกำหนดหัวข้อนั้น ขอให้ดูงานวิจัยที่กำลังทำอยู่เป็นหลัก ขอแนะนำว่าให้เตรียมกำหนดรายการแนวคิดและหัวข้อเบื้องต้นก่อน ซึ่งควรเป็นไปตามแนวทางงานวิจัยของคุณ ที่กำหนดไว้ตามคำถามวิจัยของงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ของคุณเป็นหลัก
2. สร้างความมั่นใจกับที่ปรึกษาของคุณ (Secure a Mentor)
สร้างความมั่นใจในการที่จะได้รับคำปรึกษาจากที่ปรึกษาของคุณให้ดี เพื่อให้ที่ปรึกษาสามารถกำกับการดูแลบทความของคุณได้ดีมีประสิทธิภาพ ควรมีการกำหนดตารางวันเวลาที่ชัดเจน โดยเฉพาะวันเวลาเข้าพบหรือการส่งงานความคืบหน้าให้ที่ปรึกษาอ่าน ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องมีการกำหนดวันเวลาที่เหมาะสมและยอมรับ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามเวลาที่กำหนดตลอดการเขียนบทความนั้นจนเสร็จ
3. ทำโครงร่างบทความ (Outline the paper)
การทำโครงร่างบทความ เป็นการลำดับหัวข้อ ประเด็นที่จะนำเสนอก่อนหลังตามลำดับ มันคล้าย ๆ กับการกำหนดลำดับการเขียนในบทความ โดยให้ใส่รายละเอียดคร่าว ๆ ไว้ในหัวข้อย่อย ๆ ด้วย ซึ่งมันจะช่วยให้คุณแน่ใจว่าคุณเดินตามเส้นทางตรงประเด็นและสมเหตุสมผลที่สุด อย่า..เริ่มเขียนบทความโดยที่ไม่มีการโครงร่างก่อน
4. แนวทางการวิจัยตามแผน (Plan Research Approach)
เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปตามแผน ในช่วงมีการทดลองการวิจัย ควรหาสถานที่ที่ดีที่สุดเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะหาของที่จำเป็นได้ง่าย เพื่อให้งานวิจัยมีความต้อเนื่อง ควรเป็นสถานที่ที่ปลอดภัย และควรมีตารางการทำงานชัดเจนกำกับ
5. เริ่มเขียนก่อนที่การทดลองจะเสร็จสมบูรณ์ (Start writing before the experimentation are complete such as Science Papers)
ไม่ต้องรอการทดลองเสร็จแล้วค่อยเริ่มเขียนบทความ ขอให้คุณเริ่มเขียนบทความในขณะที่คุณยังคงทำการทดลองอยู่ได้เลย การเขียนมักจะกระตุ้นให้เกิดแนวคิดใหม่ ๆ : ซึ่งอาจทำให้คุณรู้ว่าจะต้องทำการทดลองเพิ่มเติม หรือทำการออกแบบการทดลองเพื่อวัดประเด็นใหม่ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ ซึ่งจะทำให้บทความคุณโดดเด่นขึ้นอีก หากคุณรอจนผลการทดลองเสร็จแล้วเขียน อาจจะเกิดปัญหาที่ไม่คคาดคิด ส่งผลต่อการทดลอง ทำให้คุณจะไม่มีโอกาสเพื่อทดสอบตามแนวคิดหรือประเด็นใหม่เหล่านั้นได้
6. เริ่มต้นทำวิจัย (Begin Research)
ให้คุณเริ่มทำวิจัยได้เลย โดยอาจเริ่มจากการอ่านงานวิจัยที่เกี่ยวข้องก่อน ทำบรรณานุกรม และทำการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ สำหรับทำวิจัยของคุณ งานวิจัยของคุณควรมีการจัดการที่ดี
7. พิจารณารูปแบบพื้นฐานของบทความ (Determine the basic format)
- บทความวิจัยด้านวิทยาศาสตร์: บทความเหล่านี้มีเนื้อหาครอบคลุม การทดสอบ มีรูปแบบมาตรฐานที่ชัดเจน ใช้รูปแบบ“ IMRAD” – ซึ่งจะประกอบด้วย บทนำ วิธีดำเนินการทางวิจัย การทบทวนวรรณกรรม ผลการทดลอง และการอภิปรายผล เป็นต้น โดยความยาวปกติแล้วจะอยู่ที่ 3,500-4,000 คำ (ภาษาอังกฤษ) หรือน้อยกว่า
- การเขียนเรียงความ: รายงานการวิจัยฉบับเต็มสามารถนำเสนอความเฉพาะเจาะจงเพื่อให้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มีการทบทวนวรรณกรรมในประเด็นนั้นๆ โดยความยาวปกติแล้วจะอยู่ที่ 3,500-4,000 คำ (ภาษาอังกฤษ) หรือน้อยกว่า
- การประเมินงานด้านศิลปะ: สาขาทางนี้อาจจะมีองค์ประกอบต้นแบบที่ชัดเจนอยู่แล้ว โดยเฉพาะในสาขาดนตรีหรือสาขาวิจิตรศิลป์ ดังนั้นรายงานการวิจัยอาจจะมีรูปแบบซ้ำกันแต่จะแตกต่างในผลงานที่ทำขึ้นนั่นเอง
- ภาษา: ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้เป็นรูปแบบสำหรับนานาชาติ ดังนั้นควรระวังเรื่องหลักไวยากรณ์ การสะกดคำและไวยากรณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
- โฟกัส: คุณควรโฟกัสในสิ่งที่กว้างๆหรือแคบๆ นั้นเป็นหน้าที่ที่ต้องพิจารณาว่ามันคืออะไร ว่าควรทำอย่างไร เป็นงานพื้นฐาน ทฤษฎีหรือการประยุกต์ใช้งาน เป็นต้น
- รูปแบบ: ในทั้งบทความควรเขียนไปในทิศทางเดียวกัน
- รูปภาพ กราฟและแผนภูมิ: จะช่วยในการทำความเข้าใจบทความของคุณได้ ควรออกแบบดีดี
- เวลาในการพิมพ์: ต้องระบุวันที่ส่งให้ที่ปรึกษาอย่างชัดเจน เพื่อการจัดการเวลาที่ดี
เริ่มเขียนดราฟท์แรก โดยเริ่มต้นจากการเขียนบทนำและไล่ลำดับไปเรื่อย ๆ แต่ละหัวข้อของบทความจนจบในรอบแรกเสียก่อน มันจะทำให้คุณเขียนไปได้ต่อเนื่องและมองเห็นภาพรวมของบทความนี้ หลีกเลี่ยงการพยายามเขียนไปด้วยและแก้ไขไปด้วยในเวลาเดียวกัน เพราะจะทำให้คุณทำได้ไม่ดี เนื่องจากการแก้ไขมักจะง่ายกว่าการเขียนแต่ถ้าเขียนไปได้สักประมาณหนึ่งสัปดาห์แล้ว ก็ลองกลับไปอ่านย้อนหลังเพื่อปรับแก้ไขก็ได้
11. รับฟังความคิดเห็นและแก้ไขต้นฉบับบทความของคุณ (Get feedback on your Extended Essay and revise your manuscript)
การรับฟังข้อเสนอแนะเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่คุณจะสามารถปรับแก้ไขบทความของคุณให้ดีขึ้น ดังนั้นที่ปรึกษาควรระบุประเด็นให้ชัดเจนว่าควรจะปรับแก้ไขอะไรบ้าง เช่น ความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหา วิธีการ ภาษาที่ใช้หรือสไตล์การเขียน เป็นต้น หลังจากที่คุณได้รับความคิดเห็น (feedback) เหล่านั้นแล้ว คุณอาจจะชี้แจงบางประเด็นได้เพื่อให้เข้าใจตรงกัน จากนั้นคุณควรจะรีบแก้ไขต้นฉบับให้เสร็จโดยเร็ว เพื่อแก้ไขประเด็นตามที่ปรึกษาที่ได้ชี้แนะไว้
12. จัดการกับความเห็นของที่ปรึกษา (Deal with Mentors’ comments)
ให้ทำใจว่าในการเขียนบทความต้นฉบับเวอร์ชันแรกนั้น ส่วนใหญ่ที่ปรึกษาไม่ได้เห็นด้วยทุกอย่างที่คุณเขียนเสมอไป มันยังมีหลายประเด็นที่ที่ปรึกษาให้คุณปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมเข้าไปในบทความของคุณ ดังนั้นคุณจึงไม่ควรกังวลมากไป
13. พิจารณาความจำเป็นในการทำวิจัยหรือการทดลองเพิ่มเติม (Consider the Need for Additional Research or Experimentation)
การเขียนบทความวิจัยนั้น บางครั้งอาจจะต้องมีการติดตามในการทำวิจัยหรือทดลองอย่างต่อเนื่อง ถ้าข้อมูลที่ได้มีความไม่ชัดเจนเพียงพอ คุณอาจจะต้องมีการพิจารณาทำการทดลองเพิ่มเติม เพื่อหาผลการทดลองที่น่าพอใจเสียก่อนก่อนเขียนบทความต่อไป
14. แก้ไขบทความเพิ่มเติมของคุณ (Revise your Extended Essay)
ขั้นตอนหลักๆ ที่ควรดำเนินการ มีลำดับดังนี้:
- (1) ทำการแก้ไขสิ่งที่สำคัญ: แก้ไขข้อบกพร่องในการนำเสนอ ปรับโครงสร้างการเขียนในการนำเสนออย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อให้เข้าใจบทความง่ายขึ้น
- (2) ปรับสไตล์: ปรับแต่งข้อความและแก้ไขไวยากรณ์ การสะกดคำ ให้ถูกต้อง
- (3) จัดรูปแบบเอกสาร: ทำให้ต้นฉบับของคุณน่าสนใจและอ่านง่าย
*ถ้าทำตามนี้คุณจะไม่เสียเวลามาปรับแก้บทความในภายหลัง
15. ตรวจสอบการอ้างอิง (Check the references)
ตรวจสอบว่าการอ้างอิงของคุณในบทความนั้นถูกต้องตามรูปแบบและครบถ้วนหรือไม่ ถ้าเป็นไปได้พยายามอ้างอิงงานวิจัยที่ไม่เก่าจนเกินไป เช่น ไม่เก่าเกิน 5 ปี เพื่อให้แน่ใจว่างานคุณเป็นงานที่ทันสมัย การทำอ้างอิงนี้คุณอาจจะหาโปรแกรมช่วยสนับสนุนทำงาน เพราะบางมหาวิทยาลัยมีการโปรแกรมช่วยทำรูปแบบอ้างอิงเหล่านี้ด้วย
16. สร้างตาราง รูปภาพและคำบรรยาย (ตัวเลือก) (Construct the tables, figures, and legends (Optional)
คุณควรจัดระเบียบเอกสารข้อมูลทั้งหมดที่คุณจะนำเสนอด้วยการจัดทำตาราง รูปภาพ ให้มีความน่าสนใจ อ่านง่าย ชัดเจนดี และคุณต้องมั่นใจในผลการทดลองของคุณก่อนว่าถูกต้องแล้ว อย่ากังวลเกี่ยวกับการตีความของคนอ่านมากเกินไป ตรวจสอบว่าข้อมูลที่จำเป็นที่คุณต้องการนำเสนอถูกใส่ไว้ในบทความเรียบร้อยแล้วหรือยัง
17. เขียนฉบับร่างที่ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง สารบัญ และบทคัดย่อ (Draft a title, table of content & abstract)
ลองร่างฉบับที่มีชื่อเรื่อง สารบัญและบทคัดย่อของคุณที่เขียนขึ้นมาเทียบดู มันจะช่วยให้คุณเห็นภาพโดยรวมและทิศทางของเนื้อหาของบทความของคุณ ทำให้คุณกำหนดเนื้อหาให้ตรงกับสิ่งที่คุณตั้งใจไว้ได้ดีขึ้น
18. เขียนชื่อเรื่องบทความและบทคัดย่อเวอร์ชันสุดท้าย (rite the final title and abstract)
เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขบทความอยู่ตลอดเวลาในระหว่างการเขียนบทความ คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าชื่อเรื่องและบทคัดย่อของคุณตรงกับเวอร์ชันสุดท้ายของบทความที่คุณต้องการแล้วจริงๆ (ถ้าไม่แน่ใจชื่อไฟล์ให้ดูวันเวลาที่แก้ไขไฟล์ก็ได้)
19. ตรวจสอบความถูกต้องต่างๆ (Check the proofs)
เมื่อบทความคุณได้รับการอนุมัติจากที่ปรึกษาและเตรียมพร้อมที่จะการส่ง (submission) ไปยังงานประชุมวิชาการหรือวารสาร ให้เช็คข้อผิดพลาดที่อาจจะยังหลงเหลืออยู่ในบทความ และควรตั้งใจอ่านงานด้วยความละเอียดอีกครั้ง เพราะนี่เป็นโอกาสสุดท้ายของคุณก่อนส่งงาน
20. ฉลอง (Celebrate)
ฉลองกันได้เลย หรือจะรอฉลองเมื่อได้รับจดหมายตอบรับ (Acceptance Letter) ก่อนก็ได้
อย่างไรก็ตามก่อนจะเริ่มเขียนหรือเลือกหัวข้อเรื่องในการเขียนคุณจะต้องไปหาดูระดับของงานประชุมวิชาการหรือวารสารนั้น ๆ เสียก่อน ว่าเข้มข้นเพียงใด มีหัวข้อใดบ้างที่รับ เพื่อให้คุณปรับการเขียนให้เข้ากับธีมงานนั้นได้ ดังนั้นต้องลองหาอ่านงานที่ลักษณะคล้ายๆคุณในงานประชุมวิชาการนั้นเสียก่อน ดูเพื่อเป็นแนวทางในการเขียน ซึ่งสามารถบอกทิศทางบางอย่างให้คุณได้อย่างแน่นอน แต่ที่ปรึกษาคงจะแนะนำให้คุณอยู่แล้วในประเด็นนี้
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อใครหลายๆ คนนะครับ โดยเฉพาะนักศึกษาที่กำลัง เริ่มเขียนบทความวิจัยครับ ขอให้ได้รับการตอบรับการเข้าร่วมงานประชุมวิชาการหรือตอบรับการตีพิมพ์กันทุกคนนะครับ
ที่มา: “TWENTY STEPS TO WRITING A RESEARCH PAPER” ใน https://www.unthsc.edu/